อหิงสาของท่านมหาตมะ คานธี

(คัดย่อจากหนังสือ การทดลอง ของ มหาตมา คานธี หน้า 35-41 เรียบเรียงโดย ทวีวัฒน์ บุณฑริกวิวัฒน์ ศรันทิพย์ สถีรศิลปิน สำนักพิมพ์ถ้ำแก่นจันทน์)

ท่านมหาตมะ คานธี ได้ปฏิบัติในส่วนตัว สังคม และการต่อสู้ทางการเมือง ด้วยหลักอหิงสา หรือความไม่เบียดเบียน และ ได้นิยามหลักอหิงสานี้ไว้ดังนี้

-ความรัก
ด้วยความรักความเมตตาที่บุคคลจะสามารถประพฤติกรรมให้ก้าวหน้าได้และ ปฏิบัติหน้าที่ได้ด้วยความร่าเริงแจ่มใส ไม่มีใครจะสามารถต้านทานความรักที่บริสุทธิ์ได้ คานธีชำระจิตใจของตนเองให้บริสุทธิ์ด้วยการรักในเพื่อนมนุษย์ สัตว์และสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ด้วยความรักที่บริสุทธิ์นี้
ท่านได้ชนะจิตใจของประชาชน และ ชนะจิตใจของศัตรูของท่านเอง สามารถนำเอกราชและ อิสรภาพมาสู่ประเทศอินเดียในที่สุด ท่านกล่าวว่า
"ความรักเป็นพลังอำนาจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเท่า ที่โลกรู้จัก และ ขณะเดียวกันก็เป็นสิ่งที่อ่อนโยน
ที่สุดที่มนุษย์รู้จักด้วย"
"สำหรับข้าพเจ้านั้น ความรักที่บริสุทธิ์ คือกฏเกณฑ์ ทั้งหมดในชีวิตของข้าพเจ้า "

-ความอดทน
หลัก อหิงสา นั้นต้องอาศัยความอดทนอย่างใหญ่หลวงจึงจะสามรถนำผลสำเร็จอันยิ่งใหญ่มา
ให้ได้ มันไม่ใช่วิธีที่จะทำให้ผลข้ามคืน แต่แล้วก็เป็นวิธีเดียวที่แน่นอนที่สุดและถูกต้องที่สุดในการชนะจิตใจ และ ความรักจากผู้อื่น คานธี กล่าวว่า
"หนทางแห่งความดีนั้นดำเนินไปอย่างเชื่องช้า บุคคลผู้ต้องการประกอบคุณงามความดีนั้นย่อมไม่เห็นแก่ตัวและไม่รีบร้อน เขารู้ดีว่าการทำให้ผู้อื่นซาบซึ้งในคุณความดีนั้นต้องอาศัยเวลา "

-ความกล้าหาญ
นอกจากความรัก ความอดทนแล้ว ผู้ที่เดินบนหนทางแห่ง อหิงสา นั้นจะต้องมีความกล้าหาญ
อย่างเด็ดเดี่ยวอีกด้วย ชีวิตของคานธีเป็นตัวอย่างที่ดี ของบุคคลที่ปราศจากความเกรงกลัว
หลุยส์ ฟิสเซอร์ กล่าวว่า "คานธีไม่เกรงกลัว รัฐบาล หรือบุคคลใดๆ เขาไม่เกรงกลัว คุกตะราง
ความยากจน หรือแม้กระทั้งความตาย " สำหรับคานธีเองกล่าวไว้ว่า
"ความกล้าหาญหมายถึงการปราศจากความกลัวในทุก ลักษณะมันเป็นเสรีภาพจากความ
เกรงกลัวในลักษณะต่างๆเช่น ความกลัวตาย ความกลัวการประทุษร้าย การกลัวความจน
หิวโหย ความตกต่ำ คำวิพากษ์วิจารณ์ และ ความโกรธแค้นของบุคคลอื่น ความกลัวผีสาง
เทวดา เป็นต้น

-ความบริสุทธิ์
คานธีท่านได้ตรวจสอบชำระจิตใจตัวเองให้บริสุทธิ์ อยู่เสมอ ในทางการเมืองนั้นท่านได้ใช้วิธีที่สงบแต่เฉียบขาดบนพื้นฐานของความ บริสุทธิ์ยุติธรรมอยู่เสมอ และสามารถนำประชาชนอินเดีย
เข้าร่วมต่อสู้เพื่อเสรีภาพทางการเมือง และ ประสบชัยชนะในที่สุด

-ความซื่อสัตย์
ชีวิตในระยะหลังของคานธี นั้นเป็นชีวิตที่อ่อนน้อมถ่อมตนอย่างที่สุด ท่านยอมรับความ
บกพร่องของตนเองครั้งแล้วครั้งเล่า สำหรับคานธีแล้วการสารภาพความผิดช่วยให้จิตใจ
เข้มแข็ง บริสุทธิ์ และ ระมัดระวังมากขึ้น ท่านกล่าวว่า
"ไม่มีสิ่งใดจะน่าละอายไปกว่าการไม่ยอมรับ ความผิดพลาดของตนเอง"


*********
จะมีใครอ่านบ้างนะ โดยเฉพาะผู้ที่ชอบเอา อหิงสา ไปอ้างอิง
ยิ่งอยากจะให้ผู้ที่เลือกจะเชื่อตามผู้อื่น ได้ลองอ่านดู หลายๆเที่ยว

Comments

Popular posts from this blog

0.30 - 0.36 A.

HTTP File Server

RPi : ใช้งาน Static IP Address