Posts

Showing posts from 2017

เหมือนซื้อล็อตเตอรี่

ทำไมเงินดอลล่าของสหรัฐที่ไม่มีอะไรค้ำประกันราคายังได้รับความเชื่อถือ ทำไมเงินหยวนของจีนจึงสามารถใช้ซื้อขายในตลาดโลกได้ ถ้าเราเป็นผู้ขายสินค้า จะรับเงินสกุลใดจากลูกค้าก็ต้องพิจารณาว่าจะสามารถเอาไปใช้ต่อได้หรือไม่ เราไม่ได้สนใจว่าจะมีใครค้ำประกันราคาหรือไม่ เพราะผู้ที่ยอมรับเงินสกุลนั้นต่อจากเราจะเป็นผู้ค้ำประกันราคาโดยอัตโนมัติ เงินดอลล่าสหรัฐแม้ไม่มีอะไรค้ำประกันราคาเลย แต่ก็มีผู้ยินดีที่จะรับต่อ ถ้าเมื่อไรที่ไม่มึใครยอมรับต่อ เงินดอลล่าก็จะหมดค่าไปทันที เงินหยวนของจีนที่มีทองคำค้ำประกันราคาอยู่(ในขณะนี้) เมื่อก่อนหน้าไม่นานมานี้เงินหยวนไม่ค่อยจะมีใครยอมรับ ก็เลยใช้ทำการค้าด้วยเงินหยวนได้ในวงจำกัด แต่ปัจจุบันสถานะการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป เริ่มมีการยอมรับการใช้เงินหยวยเป็นตัวกลางแลกเปลี่ยนกันมากขึ้นแล้ว เพราะ มีผู้คนจำนวนมากขึ้นที่ยอมรับเงินหยวนต่อจากเรา อนาคตเงินสกุลใดจะได้รับการยอมรับหรือจะถูกปฏิเสธ ผู้ครอบครองเงินสกุลนั้นๆ ต้องเสี่ยงกันเอง ที่จะ สูญเสีย หรือ คงอยู่ ของเงินตราสกุลนั้น เหมือน ซื้อล็อตเตอรี่ แต่ถ้ามีอาจารย์เก่งๆใบ้หวยให้ ก็มั่นใจมากกว่า

Music Player : RPi + DAC

Image
Music Player ที่ใช้วิธีต่อตรงจาก RPi 3B ไปยังหูฟัง เสียงที่ได้ก็อยู่ในขั้นที่น่าพอใจระดับหนึ่ง แต่เมื่อต่อ DAC เพิ่ม เสียงที่ได้ยิ่งดีขึ้นไปอีกมาก จนน่าจะเรียกว่า Audiophile ได้ เสียงที่ส่งออกจาก RPi ไป DAC จะออกไปเต็มที่ 100/100 ไม่สามารถควบคุมได้ ตัว DAC เองก็ไม่มีตัวควบคุมระดับเสียง ดังนั้นเสียงที่ได้จึงเต็มที่ของตัวอุปกรณ์เอง ซึ่งก็ดังกว่าต่อตรง RPi มากทีเดียว เพลงบางอัลบั้มอัดมาดัง แต่ก็ยังฟังได้ดีอยู่ ถ้าต้องการควบคุมระดับเสียงและอื่น ๆ เพิ่ม ก็คงต้องเพิ่ม Ampliflier อีก รายการนี้ งบบานปลาย เท่าที่ใช้อยู่ ไม่รวมหูฟัง รวมราคาแล้วก็ 5,500 บาท+ แต่เสียงที่ได้ก็ถือว่าคุ้มค่า ที่ได้อีกอย่างคือ สะดวกสะบายในการฟังเพลงต่อเนื่องเวลายาวนาน SD card 32GB ที่ติดตั้งระบบแล้วยังมีพื้นที่เหลือเก็บเพลงที่มีทั้ง .wav .falc ไว้ฟังกันจนหลับไปหลายตื่นเลยทีเดียว

0.30 - 0.36 A.

Image
ปิดเพลงที่ความดังระดับ 65/100 จะใช้ไฟระหว่าง 0.26 - 0.52 A. แต่ส่วนมากจะอยู่ระหว่าง 0.30 - 0.36 A. ดังนั้น ถ้าไม่ต่ออะไรเพิ่ม ก็สามารถใช้ adapter หรือ battery ขนาดสัก 1 A. ก็เพียงพอ ได้ DAC มาจะดูว่ากินไฟกันเท่าไร

8 ชั่วโมง 50 นาที

Image
8 ชั่วโมง 50 นาที กับ Power Bank ประกอบเอง Power Bank ประกอบจาก 1. แบตเตอรี่ Panasonic 18650 x 2 ก้อน Capacity ก้อนละ 3400 mAH มีวงจรป้องกัน รวม 690 บาท 2. กล่อง Power Bank เปล่า ผลิตจากจีน ไม่มีระบบป้องกัน ราคา 126 บาท มูลค่ารวม 716 บาท จะได้ Capacity = 6800 mAH Power Bank ไฟเต็มจะมีไฟสัญญาณ 4 ดวง เล่นเพลงจากพื้นที่ของ SD card ที่เหลือจากการติดตั้ง Volumio เริ่มเวลา 6.55 น. ณ เวลา 15.45 น. สัญญาณไฟเหลือ 1 ดวง รวมเวลาที่ผ่านมา 8 ชั่วโมง 50 นาที ก็น่าจะสามารถใช้งานได้ 11 ชั่วโมง +- Power Bank ระบุ Capacity = 12000 mAH ซื้อสำเร็จ แกะดูแล้วมีแบตเตอรี่ 3 ก้อน Capacity ต้องเป็นก้อนละ 4000 mAH ใช้มานานแล้ว คงจะเหลือคุณภาพสัก 80% เทียบแล้วคงจะอยู่ประมาณ 9600 mAH ที่ทดสอบไปแล้ว ใช้งาน 9 ชั่วโมง ไฟสัญญาณเป็นสีแดง ซึ่งน่าจะใช้งานได้อีกสัก 2-3 ชั่วโมง จะหมดไฟจริง ก็คงใช้งานได้เต็มที่ 12 ชั่วโมง +- ถ้า Power Bank ที่ประกอบเองด้วยแบตเตอรี่ Panasonic 18650 x 2 ก้อน จะให้ใช้ได้ 12 ชั่วโมง ก็น่าจะต้องเป็น Capacity = 7500 mAH แบบนี้ประกอบเองดีกว่า

9 ชั่วโมง

Image
ยัง ยังไม่ถึง (แค่ 8 ชม.ครึ่งกว่าๆ) Power Bank มีอาการแดงๆแล้ว 9 ชั่วโมง คงไหว เป็น Power Bank เก่าหลายปี เปิดเพลงตลอด ฟังบ้าง หยุดบ้าง ตั้งแต่ 6.30 น. (เพื่อทดสอบ Power Bank ด้วย) เสียงดีขึ้นจากที่เริ่มต้นอีกพอสมควร การใช้แบตเตอรี่แทนการจ่ายไฟของ adapter ก็ทำให้ได้เสียงสะอาดขึ้น แถมสะดวกในการเคลื่อนย้าย ระยะเวลาก็ยาวนานไม่น้อยถือว่าเพียงพอเลยทีเดียว

ฟังเพลงจาก Music Player

Image
การฟังเพลงจาก Music Player เสียงที่ได้ถือว่าใช้ได้ น่าจะดีกว่าเสียงที่ได้จากมือถือทั่วไป(ที่ไม่ใช่มือถือที่มีระบบเสียงดีๆ) แต่กำลังค่อนข้างน้อย ถ้าจะให้ไม่อั้นต้องเปิดถึง 60/100 ขึ้นไป ถ้าเพิ่ม DAC เสียงจะต้องดีขึ้นอีกมาก รายชื่อเพลงไทยก็สามารถแสดงได้ถูกต้องโดยไม่ต้องปรับแต่งอะไร SD card ที่ใช้มีขนาด 32GB ทำให้มีพื้นที่เหลือจากการใช้งานของระบบจำนวนมาก พื้นที่ที่เหลือนี้ได้ฟอร์แมทเป็น FAT32 แล้วใส่เพลงไว้จำนวนหนึ่ง ระบบสามารถเปิดเพลงจากพื้นที่นี้ได้ ทำให้เหมือนมีเครื่องฟังเพลงพกพา

Music Player

Image
1. Raspberry Pi 3B 2. Power Bank 3. Headphone 4. Flashdrive - Raspberry Pi 3B ติดตั้ง Volumio - Power Bank ประกอบขึ้นจากแบตเตอรี่ 18650 = 2 ก้อน บรรจุลงในกล่องเปล่า Power Bank จากจีน - Flashdrive บรรจุเพลงที่ชื่นชอบ ควบคุมด้วย คอมพิวเตอร์ มือถือ หรือแทปเลท ใช้ระบบปฏิบัติการได้ทั้ง Windows Lenux iOS หรือ Android ผ่านเว็บเบราเซอร์ ด้วย volumio.local/ ซึ่งจะทำผ่านได้ทั้งทางสาย LAN หรือทาง Wi-Fi แต่ก็มี application ถ้าไม่ต้องการใช้งานผ่านเว็บเบราเซอร์ เสียงที่ได้ยังไม่ค่อยดีนัก ถ้าต้องการในระดับ Audiophile ต้องเพิ่ม DAC (สั่งซื้อแล้ว รอ)

ประณาม

Image

นี่คือประเทศไทย

Image
ในความเป็นประเทศไทย สิ่งนี้คือความอดสูที่บางคนซึ่งไร้สำนึกที่ดีงามได้ฝากเป็นรอยด่างของประวัติศาสตร์ชาติไทย http://www.tnews.co.th/contents/315355

เครื่องเล่นเพลง บน RPi

Image
อยากจะทำเครื่องเล่นเพลงคุณภาพแต่ราคาเป็นมิตรโดยใช้ RPi เพราะขนาดไม่ใหญ่มากพอจะถือไปใหนมาใหนได้ ก็ต้องหาข้อมูลกันหน่อย Durio Sound ซึ่งเป็น DAC ของคนไทย แต่ยังหาซื้อในเมืองไทยไม่ได้

เป็นชุดหรือแยกชิ้นดีละ

Image
ราคาไม่เหมือนกัน คิดหนัก

RPi : Computer Module 3

Image
RPi ออกบอร์ดใหม่ CM3 คุณสมบัติดีกว่า RPi3 แต่ ไม่มี I/O ในต้ว ราคาที่เห็นตอนนี้ประมาณ 1,280 บาท ส่วนบอร์ด I/O ที่ต้องใช้ร่วมกัน มีราคาสูงถึงประมาณ 4,850 บาท สองรายการรวมกันแล้วเกิน 6,000 บาท ยังใช้งานไม่ได้ ดูเหมือนจะไม่ตรงกับนโยบายเริ่มต้นเสียแล้ว โลกเปลี่ยน/ไปจริง ๆ

RPi : การติดตั้ง OS สำหรับ Rasberry Pi

Image
การติดตั้ง Raspbian ซึ่งเป็น Official OS ของ Raspberry Pi สามารถติดตั้งลงบน SD Card ได้ 2 วิธี 1. ใช้ NOOBS (New Out Of Box Software) 2. เขียนไฟล์ images ลง SD Card ทั้งสองวิธีมีข้อแตกต่างกัน NOOBS เป็นโปรแกรมช่วยติดตั้ง OS ที่ใช้ง่าย โดยการก๊อปปี้แล้ววาง แต่มีข้อจำกัดว่า จะติดตั้ง OS ใน NOOBS ได้เฉพาะที่มีในลิสต์เท่านั้น ซึ่งก็จะมี Raspbian, LibreELEC, OSMC, RISC OS, Windows 10 IoT Core โดย Raspbian จะมีมาให้ในตัว ส่วน OS อื่นจะต้องดาวน์โหลดระหว่างติดตั้ง เขียนไฟล์ images ลง SD Card วิธีนี้จะต้องดาวน์โหลดไฟล์ images ที่จะใช้มาไว้ก่อน จะเป็น OS อะไรก็ได้ เช่น Raspbian, Ubuntu mate ฯลฯ ในรูปแบบ .img แล้วนำมาเขียนลง SD Card โดยใช้โปรแกรมเขียน เช่น Win32DiskImager สำหรับ Windows 10 IoT Core ยังสามารถติดตั้งโดยใช้โปรแกรมช่วยติดตั้งของ Microsoft เองได้อีกด้วย (ดู ติดตั้ง Windows 10 loT Core บน Raspberry Pi 3 ) เพิ่มเติม https://www.raspberrypi.org/downloads https://sourceforge.net/projects/win32diskimager

RPi : ใช้งาน Static IP Address

Image
Raspbian Jessie    กำหนดค่า Fix IP Address ใน /etc/dhcpcd.conf        sudo nano /etc/dhcpcd.conf    เพิ่มคำสั่งเหล่านี้ต่อท้าย        interface eth0        static ip_address=192.168.1.200        static routers=192.168.1.1        static domain_name_servers=192.168.1.1 Raspbian Wheezy    ต้องแก้/กำหนดค่าที่ /etc/network/interfaces        sudo nano /etc/network/interfaces    แก้        iface eth0 inet dhcp    ให้เป็น        iface eth0 inet static           address 192.168.1.200           netmask 255.255.255.0           network 192.168.1.0           broadcast 192.168.1.255           gateway 192.168.1.1 ความหมาย 192.168.1.200 = IP ของ RPi ที่ต้องการ Fix 192.168.1.1 = IP ของ Router อย่าลืมบันทึกไฟล์ที่แก้ไข และ reboot เพื่อเริ่มค่าใหม่

RPi : ติดตั้ง Windows 10 loT Core บน Raspberry Pi 3

Image
การติดตั้ง Windows 10 loT Core เพื่อเป็น OS ของ Raspberry Pi (RPi) ทำได้ไม่ยาก เริ่มต้นด้วยการติดตั้งโปรแกรมช่วยติดตั้ง คือ Windows 10 loT Core Dashboard บน PC หรือ Notebook ซึ่งจะช่วยติดตั้ง Windows 10 loT Core บน SD Card ติดตั้ง SD Card บน PC เรียบร้อยแล้วก็เปิดโปรแกรม Windows 10 loT Core Dashboard ขึ้นมา กรอกข้อมูลตามปรากฏที่หน้าจอ ส่วนรหัสจะใช้เพียง 8 ตัวเท่านั้น ถ้ากรอกเกิน จะตัดส่วนเกินทิ้ง แล้วคลิก Download and install เข้าสู่การติดตั้ง .. รอ เมื่อติดตั้งเสร็จให้นำ SD Card ไปเสียบที่ RPi แล้วเปิดเครื่องขึ้นมา แล้วคลิก My devices เพื่อค้นหา RPi ที่อยู่ใน Network แสดงรายการ RPi ที่พบ ดับเบิ้ลคลิกที่ RPi กรอก Device name และ User name แล้วคลิก Apply จะให้ใส่ Password คลิก Open Windows Device Portal  in browser จะเข้าหน้าจอใช้งาน RPi บน browser ขั้นต่อไปก็กำหนดค่า (config) ref.