Flash Drive แปลงเป็น NTFS

ปกติถ้าจัดระบบแบบ FAT32 ให้กับ Flash Drive ขนาด 1 GB จะได้ความจุจริง 953 MB เมื่อบันทึกไฟล์จำนวนหนึ่งขนาด 936 MB เท่ากับร้อยละ 98.22 ของความจุจริง ถ้าแปลงระบบให้เป็น NTFS จะมีความจุจริงเป็น 955 MB บันทึกไฟล์จำนวนเดียวกันนั้น ด้วยขนาด 940 MB เท่ากับร้อยละ 98.43 ของความจุจริง จะเห็นว่าต้องใช้ขนาดบรรจุมากขึ้นเล็กน้อย แต่สิ่งที่ได้มาทดแทน คือ ระบบไฟล์ NTFS ที่ปลอดภัยกว่าแบบ FAT32 (เขาว่ากันอย่างนั้น)

สิ่งที่ NTFS มีเหนือกว่า FAT32 อีกอย่าง คือ การบีบไฟล์ ซึ่งการบีบไฟล์ที่ว่านี้ไม่เหมือนกับการบีบไฟล์โดยใช้โปรแกรมจำพวก zip, rar หรืออื่นๆ เป็นการบีบที่เหมือนไม่บีบ คือ เรายังมองเห็นเหมือนไฟล์ปกติ เพียงแต่มีขนาดเล็กลง และยังคงทำงานได้ปกติไม่ต้องแตกไฟล์ออกมาก่อน (แน่นอน คงต้องแลกกับเวลาที่เพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย ย้ำ เล็กน้อยจริงๆ) จากการบันทึกไฟล์จำนวนเดิมในตอนต้นนั้น ปรากฏว่าใช้พื้นที่ไปเพียง 735 MB (ความจุจริง 955 MB) เท่ากับร้อยละ 76.96 ลดลงไป (จากเดิม 940 MB) ร้อยละ 21.81 นับว่าไม่น้อยเลยที่เดียว

นอกจากนั้นยังสามารถใช้คุณสมบัติของ NTFS ได้อีกด้วย (อะไรบ้าง ไปหาดูเอา)

น่าสนใจจริงๆ

แล้วอย่างไรละ

ปกติระบบ Windows อนุญาตให้ฟอร์แม็ทในระบบ FAT เท่านั้น แต่การฟอร์แม็ทเป็น NTFS ก็ยังสามารถทำได้โดยวิธีนี้เลย
- หลังจากเสียบ Flash Drive แล้ว
- คลิ้กขวาที่ Flash Drive ใน Explorer แล้วเลือก Properties ตามด้วยเลือก Hardware เลือก Drive จากรายการอีกครั้ง คลิ้ก Properties เลือก Policies เลือก Optimize for Performance
- กลับไปทำฟอร์แม็ท โดยคลิ้กขวาที่ Flash Drive ใน Explorer แล้วเลือก Format ด้วย File system : NTFS แล้วก็เลือก File Options เป็น Enable Compression (ด้วย ถ้าต้องการ) คลิ้ก Start เป็นอันว่าแปลงกายแล้ว
- กลับไปเปลี่ยน Optimize for performance เป็น Optimize for quick removed เหมือนเดิม เพื่อไม่ให้เครื่องเตือนเรื่อง Hardware safety remove ในตอนเอา Flash Drive ออกโดยไม่ถูกวิธี

คำเตือน
ทุกครั้งที่จะถอด Flash Drive ออก ต้องผ่านวิธี Safely Remove Hardware (ดูที่ Task Bar ขวามือ ใกล้ๆกับนาฬิกาของระบบ) เพราะ NTFS ไม่ได้ออกแบบให้ใช้กับ Removable Media ดังนั้น ข้ออาจเสียหายได้ถ้าถอดไม่ถูกวิธี

คำเตือนสุดท้าย
ถ้าไม่ชอบวิธี Safely Remove Hardware ก็อย่ายุ่งกับวิธีนี้ดีกว่า เราเตือนคุณแล้ว (ไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายใดๆที่ท่านได้ทำตามวิธีนี้)

Comments

Popular posts from this blog

HTTP File Server

0.30 - 0.36 A.

RPi : ใช้งาน Static IP Address