Posts

Showing posts from January, 2017

RPi : Computer Module 3

Image
RPi ออกบอร์ดใหม่ CM3 คุณสมบัติดีกว่า RPi3 แต่ ไม่มี I/O ในต้ว ราคาที่เห็นตอนนี้ประมาณ 1,280 บาท ส่วนบอร์ด I/O ที่ต้องใช้ร่วมกัน มีราคาสูงถึงประมาณ 4,850 บาท สองรายการรวมกันแล้วเกิน 6,000 บาท ยังใช้งานไม่ได้ ดูเหมือนจะไม่ตรงกับนโยบายเริ่มต้นเสียแล้ว โลกเปลี่ยน/ไปจริง ๆ

RPi : การติดตั้ง OS สำหรับ Rasberry Pi

Image
การติดตั้ง Raspbian ซึ่งเป็น Official OS ของ Raspberry Pi สามารถติดตั้งลงบน SD Card ได้ 2 วิธี 1. ใช้ NOOBS (New Out Of Box Software) 2. เขียนไฟล์ images ลง SD Card ทั้งสองวิธีมีข้อแตกต่างกัน NOOBS เป็นโปรแกรมช่วยติดตั้ง OS ที่ใช้ง่าย โดยการก๊อปปี้แล้ววาง แต่มีข้อจำกัดว่า จะติดตั้ง OS ใน NOOBS ได้เฉพาะที่มีในลิสต์เท่านั้น ซึ่งก็จะมี Raspbian, LibreELEC, OSMC, RISC OS, Windows 10 IoT Core โดย Raspbian จะมีมาให้ในตัว ส่วน OS อื่นจะต้องดาวน์โหลดระหว่างติดตั้ง เขียนไฟล์ images ลง SD Card วิธีนี้จะต้องดาวน์โหลดไฟล์ images ที่จะใช้มาไว้ก่อน จะเป็น OS อะไรก็ได้ เช่น Raspbian, Ubuntu mate ฯลฯ ในรูปแบบ .img แล้วนำมาเขียนลง SD Card โดยใช้โปรแกรมเขียน เช่น Win32DiskImager สำหรับ Windows 10 IoT Core ยังสามารถติดตั้งโดยใช้โปรแกรมช่วยติดตั้งของ Microsoft เองได้อีกด้วย (ดู ติดตั้ง Windows 10 loT Core บน Raspberry Pi 3 ) เพิ่มเติม https://www.raspberrypi.org/downloads https://sourceforge.net/projects/win32diskimager

RPi : ใช้งาน Static IP Address

Image
Raspbian Jessie    กำหนดค่า Fix IP Address ใน /etc/dhcpcd.conf        sudo nano /etc/dhcpcd.conf    เพิ่มคำสั่งเหล่านี้ต่อท้าย        interface eth0        static ip_address=192.168.1.200        static routers=192.168.1.1        static domain_name_servers=192.168.1.1 Raspbian Wheezy    ต้องแก้/กำหนดค่าที่ /etc/network/interfaces        sudo nano /etc/network/interfaces    แก้        iface eth0 inet dhcp    ให้เป็น        iface eth0 inet static           address 192.168.1.200           netmask 255.255.255.0           network 192.168.1.0           broadcast 192.168.1.255           gateway 192.168.1.1 ความหมาย 192.168.1.20...

RPi : ติดตั้ง Windows 10 loT Core บน Raspberry Pi 3

Image
การติดตั้ง Windows 10 loT Core เพื่อเป็น OS ของ Raspberry Pi (RPi) ทำได้ไม่ยาก เริ่มต้นด้วยการติดตั้งโปรแกรมช่วยติดตั้ง คือ Windows 10 loT Core Dashboard บน PC หรือ Notebook ซึ่งจะช่วยติดตั้ง Windows 10 loT Core บน SD Card ติดตั้ง SD Card บน PC เรียบร้อยแล้วก็เปิดโปรแกรม Windows 10 loT Core Dashboard ขึ้นมา กรอกข้อมูลตามปรากฏที่หน้าจอ ส่วนรหัสจะใช้เพียง 8 ตัวเท่านั้น ถ้ากรอกเกิน จะตัดส่วนเกินทิ้ง แล้วคลิก Download and install เข้าสู่การติดตั้ง .. รอ เมื่อติดตั้งเสร็จให้นำ SD Card ไปเสียบที่ RPi แล้วเปิดเครื่องขึ้นมา แล้วคลิก My devices เพื่อค้นหา RPi ที่อยู่ใน Network แสดงรายการ RPi ที่พบ ดับเบิ้ลคลิกที่ RPi กรอก Device name และ User name แล้วคลิก Apply จะให้ใส่ Password คลิก Open Windows Device Portal  in browser จะเข้าหน้าจอใช้งาน RPi บน browser ขั้นต่อไปก็กำหนดค่า (config) ref.